วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาวันปีใหม่
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ



เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495


 


วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นิทานอีสป

นิทานอีสป เรื่อง มดกับตัวดักแด้

นิทานอีสป เรื่อง มดกับดักแด้
นิทานอีสป เรื่อง มดกับตัวดักแด้


ในคืนวันหนึ่งที่ในป่าลึก ได้เกิดลมมรสุมลูกใหญ่พัดกระหน่ำลงมาตลอดทั้งคืน…เรียกว่ามันเป็นคืน ที่สยองและโหดร้ายอย่างมากเลยทีเดียว…และกว่าลมมรสุมลูกนั้นจะพัดผ่านพ้นลงไปก็เช้าพอดี พระอาทิตย์แย้มหน้าออกมาส่องแสงให้ความสว่างไสวไปทั่วทั้งป่า มีมดตัวหนึ่ง ค่อย ๆแย้มหน้าของมัน โผล่หัวออกมาจากใต้ใบไม้แห้งที่วางปิดอยู่บนปากหลุมใต้ต้นไม้ต้นใหญ่ต้นหนึ่งที่เมื่อคืนมันได้ใช้ เป็นที่หลบลมพายุลูกร้ายลูกนั้นอยู่ทั้งคืน…

” โอ้ย…สุดแสนจะน่ากลัวและโหดร้ายมากเลยเมื่อคืนนี้ ” เมื่อมันโผล่หัวออกมาได้ ก็บ่นงึมงำอย่างหัว เสียเป็นที่สุด แล้วขณะนั้นมันก็ได้เหลือบไปเห็นสิ่งหนึ่งเข้า เจ้าสิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปมาอย่างลำบาก ลำบนกลิ้งกระดืบออกมาจากใต้ใบไม้แห้งข้าง ๆตัวของมัน มันหละให้เป็นนึกขะหยะขะแหยงและความรู้ สึกไม่ค่อยจะดีในความน่าเกลียดของเจ้าสิ่งที่มันได้เห็นนั้น ทำไมถึงน่าเกลียดน่าชังอย่างนี้นะ…มันคิด แล้วก็พร้อมกันนั้นมันก็พูดขึ้นกับเจ้าสิ่งนั้นว่า ” นี่เอ็ง…เป็นตัวอะไรฟะ มือก็ไม่มีขาก็ไม่มี จะเคลื่อนไหว แต่ละทีก็ลำบากลำบนออกอย่างนั้น…ทำไมเจ้าถึงเป็นแมลงตะกูลที่น่าเกลียดที่สุดในโลกอย่างนี้เล่า… ”

สิ่งที่มันนึกขะหยะขะแหยงนั้นคือตัวดักแด้ที่กำลังรอเวลาที่จะลอกคราบอยู่ในอีกไม่นานแต่เพราะลม มรสุมเมื่อคืน มันจึงโดนพัดให้ตกลงมาสู่พื้นดินด้านล่างอย่างโชคร้าย…” ขอโทษทีนะท่าน ที่ทำให้ท่านความรู้สึกไม่ดีเมื่อเห็นเราเข้า เราเป็นดักแด้ตัวอ่อนของแมลงชนิดหนึ่ง มือก็ไม่มี ขาก็ไม่มี จึงเดินไม่ได้เหมือนอย่างท่าน ” เจ้ามดเมื่อได้ฟังดังนั้นก็ทำหน้าเบ้ แล้วพูดว่า ” แมลงอย่างเจ้า เกิดมามีกรรม เสียชาติเกิดนะ เป็นแมลงจะต้องมีขาแล้วต้องเดินได้ปีนต้นไม้ได้ เหมือนอย่างข้านี่สิ ถึงจะเรียกว่าแมลง ไม่เสียชาติเกิด…ช่างเป็นเรื่องที่น่าอายอย่างเหลือเกินถ้าจะให้ข้านับเจ้าว่าเป็นพวกพ้อง แมลงเผ่าพันธุ์เดียวกันกับข้า ฮึ…เสียความรู้สึกเป็นที่สุด ” เจ้ามดพูดว่าและดูถูกตัวดักแด้ตัวนั้นให้เสียใจ อย่างมาก…แล้วมันก็เดินหนีจากไปทันที…

เมื่อเวลาได้ผ่านมาวันหนึ่ง หลังจากที่ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พื้นดินทั่วทั้งป่าก็บรรดาลให้เกิดเป็นโคลน เป็นตมไปหมดทั่วทุกที่ ขณะที่เจ้ามดตัวเดิมกำลังเดินลุยโคลนอยู่ด้วยความลำบากลำบนเพราะกว่ามัน จะก้าวขาออกไปข้างหน้าได้แต่ละก้าวนั้น โคลนเหลว ๆที่เกาะอยู่ตามแข้งตามขาของมันคอยยึดขาของ มันไว้ติดเหนียวแน่นทำให้เดินลำบากน่ารำคาญอย่างยิ่ง มันจึงบ่นขึ้นด้วยความหัวเสีย ” โอ้ย…โคลนเละ ๆ เหลว ๆทั้งนั้น เดินลำบากยากเย็นเสียจริง ๆ ” มันบ่นไปเดินไปและคิดว่าแหมวันนี้มันช่างโชคร้าย เสียเหลือเกิน…แล้วขณะนั้นอยู่ ๆก็มีเสียง ๆหนึ่งดังขึ้นมาจากด้านบนเหนือหัวของมันว่า ” แมลงที่มีขา อย่างเดียวไม่มีปีกบินไปไหนมาไหนหนีภัยไม่ได้อย่างเจ้า ก็จำเป็นจะต้องได้รับกรรมจำต้องเดินด้วย ความลำบากลำบนในที่ ๆทีเป็นโคลนเป็นตมอย่างนั้น ช่างน่าสงสารเสียเหลือเกินนะเนี่ย…เกิดมาเป็น แมลงมีแต่ขาอย่างเดียวอย่างเจ้านี่ เสียชาติเกิดนะ เจ้ามดเอ๋ย..ช่างน่าอายเหลือเกินถ้าจะให้ข้านับเจ้า ว่าเป็นแมลงเผ่าพันธุ์พวกพ้องเดียวกันกับข้า…ช่างน่าอายเสียจริง ๆ”

เจ้ามดรีบเงยหน้าขึ้นมองตามเสียงที่พูดดูถูกดูแคลนมันอยู่ทันที แล้วมันก็ได้เห็นผีเสื้อที่สวยงามมาก ตัวหนึ่งกำลังกะพือปีกที่กว้างใหญ่และสวยงามนั้นเหมือนอวดเยาะเย้ยอยู่ด้านบน มันจึงพูดว่า ” อันนั้นมัน เรื่องของข้า ก็ข้าเกิดมาไม่มีปีกเหมือนเจ้านี่ก็จำเป็นที่จะต้องเดินลุยโคลนลุยตมอยู่อย่างนี้ แล้วทำไม เจ้าจึงมาว่าข้าอย่างเสียหายอย่างนี้เล่า ” ผีเสื้อจึงตอบออกมาแบบเหยียดหยามว่า ” เจ้ามดจอมปากเสีย ข้าคือตัวดักแด้ตัวที่แกเคยพูดดูถูกเหยียดหยามเอาไว้ครั้งหนึ่งให้ต้องได้ช้ำใจ…เจ้าพอจะนึกออกไหม?ล่ะ ตอนนี้ข้าได้ลอกคราบออกมาแล้วเป็นผีเสื้อมีปีกที่สวยงามและสามารถที่จะบินไปในที่ไหน ๆได้อย่างสะดวก สบายและอิสระ…น่าสงสารเจ้านะเกิดมาไม่มีปีก มีแต่ขาก็กรรมมากพออยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะเดิน ได้อย่างอิสระเสียอีกอย่างที่ข้าได้เห็นนี่น่ะ ” ว่าทิ้งท้ายเสร็จแล้ว ผีเสื้อก็กระพือปีกและบินจากไป…
อ้างอิงมาจาก google

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


วันลอยกระทง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทงแบบดั้งเดิมนั้นทำจากวัสดุธรรมชาติ
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] วันลอยกระทงในปฏิทินสุริยคติ

ปีวันที่วันที่วันที่
ปีชวด24 พฤศจิกายน พ.ศ. 253912 พฤศจิกายน พ.ศ. 255131 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู14 พฤศจิกายน พ.ศ. 25402 พฤศจิกายน พ.ศ. 255219 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ปีขาล3 พฤศจิกายน พ.ศ. 254121 พฤศจิกายน พ.ศ. 25538 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
ปีเถาะ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 254210 พฤศจิกายน พ.ศ. 255427 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ปีมะโรง11 พฤศจิกายน พ.ศ. 254328 พฤศจิกายน พ.ศ. 255515 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง31 ตุลาคม พ.ศ. 254417 พฤศจิกายน พ.ศ. 25565 พฤศจิกายน พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย19 พฤศจิกายน พ.ศ. 25456 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ???
ปีมะแม8 พฤศจิกายน พ.ศ. 254625 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ???
ปีวอก26 พฤศจิกายน พ.ศ. 254714 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ???
ปีระกา16 พฤศจิกายน พ.ศ. 25483 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ???
ปีจอ5 พฤศจิกายน พ.ศ. 254922 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ???
ปีกุน24 พฤศจิกายน พ.ศ. 255011 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ???

[แก้] ประวัติ

พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1

[แก้] ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

โคมลอยยี่เป็ง
  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
    • จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี"ยี่เป็ง"เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
    • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
    • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
  • ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
  • ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
    • กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
    • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา